กลยุทธ์ "China plus one" ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปสำหรับธุรกิจ

By Cadys Wang Photo:CANVA
ความตึงเครียดทางการค้าระดับโลกได้ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้กลยุทธ์ "China plus one" ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไปสำหรับธุรกิจ เนื่องจากหลายประเทศเริ่มใช้อันตราภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น บริษัทที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ จีน หรือยุโรปต้องเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff barriers) ที่อาจเกิดขึ้น
เมื่อมาตรการภาษีและการลงโทษทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างเศรษฐกิจหลักๆ ราคาสินค้าที่สูงขึ้นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจหลายท่านได้เตือนว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า พร้อมกับการลดลงของกำลังซื้อของผู้บริโภค อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อประเทศใดก็ตามที่มีเศรษฐกิจเปิดกว้างและพึ่งพาการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก
รัฐบาลสหรัฐฯ โดยเฉพาะภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ มักใช้ภาษีศุลกากรเป็นเครื่องมือในการต่อรองในความสัมพันธ์ทางการค้า ประเทศที่มีการขาดดุลการค้ากับสหรัฐฯ อย่างมาก เช่น เวียดนาม อาจกลายเป็นเป้าหมายในการใช้มาตรการนี้.
ในระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรกของทรัมป์ เขาได้เน้นย้ำว่า เวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ได้กลายเป็นผู้ได้รับประโยชน์หลักหลังจากที่สหรัฐฯ ได้เรียกเก็บภาษีศุลกากรที่สูงจากจีนแผ่นดินใหญ่.
การสอบสวนภายใต้มาตรา 301 ยืนยันว่า เวียดนามได้ละเมิดหลักการการค้าที่ยุติธรรม โดยการที่จีนตั้งโรงงานในเวียดนามเโดยนำเข้าสินค้า และส่งออกต่อ หรือเพียงแค่ทำบรรจุภัณฑ์ใหม่และส่งออกสินค้าจีนไปยังสหรัฐฯ ภายใต้ฉลาก "ผลิตในเวียดนาม" เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร.
หากช่องว่างระหว่างการส่งออกและนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวออกไป เวียดนามอาจต้องเผชิญกับการตรวจสอบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ความกังวลนี้ไม่ได้จำกัดแค่เวียดนามเท่านั้น ทุกประเทศที่เคยถูกเลือกเป็นทางเลือก "China plus one" ในตอนแรกจำเป็นต้องกระจายตลาดส่งออกของตนให้หลากหลายยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปี 2025 อาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญ ประเทศต่างๆ ไม่สามารถปรับสมดุลการค้ากับสหรัฐฯ ได้ในทันที โดยเฉพาะภายใต้นโยบายที่อาจเกิดขึ้นในสมัยการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองของทรัมป์
บริษัทในประเทศควรมุ่งเน้นการเสริมสร้างความโปร่งใสในการรับรองแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีพื่อช่วยลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ นอกจากนี้เราควรพัฒนากลยุทธ์ในการขยายตลาดไปยังตลาดทางเลือกอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป อินเดีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
สรุปได้ว่า ความท้าทายหลักจะรวมถึงการบริหารจัดการในการจัดหาวัตถุดิบและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนโลจิสติกส์
ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมสำหรับอุปสรรคในการค้าเมื่อส่งสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเสี่ยงสูงต่ออัตราภาษีศุลกากรใหม่หรืออุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีที่เราเรียนว่ามาตราการกีดกันทางการค้า
ขอขอบคุณหากคุณสามารถแบ่งปันบล็อก TGL ในหมู่เพื่อนของคุณที่สนใจข้อมูลตลาดโดยตรงของโซ่อุปทานและเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่อัปเดต