ผลกระทบหลักของ USMCA ต่อห่วงโซ่อุปทาน

By Nick Lung Photo:CANVA
USMCA (United States-Mexico-Canada Agreement) หรือ ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ เม็กซิโก และแคนาดา เป็นข้อตกลงการค้าที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2020 ซึ่งมาแทนที่ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ที่เริ่มใช้ในปี 1994 ข้อตกลงนี้มีผลกระทบหลายด้านต่อธุรกิจโลจิสติกส์ในอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะในด้านการขนส่งข้ามพรมแดน การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ผลกระทบเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกฏว่าด้วยแหล่งกำเนิดทสินค้า การปรับปรุงมาตรฐานด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเสริมสร้างการค้าดิจิทัล
ผลกระทบหลักของ USMCA ต่อโลจิสติกส์
การทำให้กระบวนการโลจิสติกส์ข้ามพรมแดนง่ายขึ้นและมีมาตรฐานเดียวกัน
การอำนวยความสะดวกในการเคลื่นย้ายของสินค้าข้ามพรมแดน: USMCA รักษากลไกบางอย่างจาก NAFTA ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการไหลเวียนของสินค้า ระหว่างสามประเทศ และเสริมสร้างมาตรฐานการไหลของสินค้าให้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านชิ้นส่วนยานยนต์และสินค้าเกษตร ซึ่งช่วยให้กระบวนการผ่านศุลกากรและตรวจสอบสินค้าระหว่างสามประเทศราบรื่นขึ้น ลดอุปสรรคทางการบริหาร และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์
การดำเนินพิธีการศุลกากรที่รวดเร็วและกระบวนการดิจิทัล: ข้อกำหนดการค้าดิจิทัลในข้อตกลงนี้เสริมสร้างการไหลของข้อมูลอย่างเสรีและกำหนดมาตราฐานกระบวนการศุลกากรแบบดิจิทัล ซึ่งช่วยเร่งกระบวนการผ่านพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้า โดยเฉพาะการจัดการโลจิสติกส์สำหรับอีคอมเมิร์ซและผลิตภัณฑ์ไฮเทคที่สามารถขนส่งข้ามพรมแดนได้เร็วขึ้นภายใต้กฎระเบียบการค้าดิจิทัล
ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มความต้องการโลจิสติกส์
ผลกระทบของกฎว่าด้วยแหล่งกำเนินสินค้าต่อความต้องการโลจิสติกส์: ภายใต้ USMCA ข้อกำหนดเกี่ยวกับฏกว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่เข้มงวดขึ้นสำหรับอุตสาหรกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของรถยนต์ โดยกำหนดให้ชิ้นส่วนยานยนต์อย่างน้อย 75% ต้องมาจากอเมริกาเหนือ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตยานยนต์และผู้จัดหาชิ้นส่วนเดินทางระหว่างสหรัฐฯ เม็กซิโก และแคนาดามากขึ้น ทำให้มีความต้องการการขนส่งในภูมิภาคมาขึ้น โดยส่งผลให้เกิดกิจกรรมการขนส่งทางรถบรรทุก ทางรถไฟ และทางทะเลระหว่างสามประเทศนี้เพิ่มขึ้น
การแบ่งภูมิภาคของห่วงโซ่การผลิตเพิ่มขึ้น: เนื่องจากข้อกำหนดถิ่นกำเนิดสินค้าของอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัทต่างๆ อาจต้องออกแบบห่วงโซ่อุปทานใหม่เพื่อให้พึ่งพาการจัดหาชิ้นส่วนภายในอเมริกาเหนือมากขึ้น จึงเพิ่มความถี่ในการขนส่งข้ามพรมแดน การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ของอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญของการขนส่งทางรถบรรทุกและรถไฟ
การเพิ่มขึ้นของต้นทุนโลจิสติกส์ที่อาจเกิดขึ้น
การเพิ่มขึ้นของค่าแรงและมาตรฐานแรงงานที่สูงขึ้น : USMCA กำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่ 16 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงสำหรับบางงานในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งอาจทำให้โรงงานในเม็กซิโกและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ต้องปรับขึ้นค่าแรง ส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนเหล่านี้อาจกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ต้องปรับโครงสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์เพื่อหาทางเลือกและวิธีการที่มีต้นทุนต่ำกว่า
ต้นทุนการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่สูงขึ้น: ข้อตกลงฉบับใหม่ได้ปรับปรุงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงาน ซึ่งทำให้บริษัทโลจิสติกส์ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เข้มงวดขึ้นระหว่างการขนส่ง และอาจจำเป็นต้องดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนด เช่น การลดการปล่อยมลพิษ การปรับปรุงสภาพการทำงาน ฯลฯ ซึ่งอาจเพิ่มต้นทุนการปฏิบัติตามข้อกำหนดและมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
ผลกระทบต่อโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตรกระบวนการในการจัดการและขนส่งสินค้าที่ไวต่ออุณหภูมิ
การเข้าถึงตลาดผลิตภัณฑ์นมของสหรัฐฯ ในแคนาดา: สหรัฐฯ ได้สามารถขยายและเข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์นมของแคนาดาได้มากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความต้องการโลจิสติกส์สำหรับสินค้าเกษตรระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะความต้องการกระบวนการจัดการขนส่งสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Logistics) เพิ่มขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์นมต้องการการขนส่งที่รวดเร็วและระบบขนส่งที่ควรคุมอุณหภูมิอย่างมีประสิทธิภาพ
การคงไว้ซึ่งห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงของสินค้าเกษตรของเม็กซิโก: เม็กซิโกยังได้รับสิทธิ์ในการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะผลไม้และผักสด ซึ่งช่วยให้ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรระหว่างสองประเทศยังคงมีเสถียรภาพและสนับสนุนความต้องการโลจิสติกส์ที่ต่อเนื่อง การขนส่งทางรถบรรทุกระหว่างเม็กซิโกและสหรัฐฯ จะยังคงมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร
การส่งเสริมการค้าดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซ
การเสริมสร้างข้อกำหนดการค้าดิจิทัล: USMCA ส่งเสริมการไหลเวียนของสินค้าดิจิทัลอย่างเสรีและลดอุปสรรคในการไหลของข้อมูลในการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งส่งผลดีต่อแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและห่วงโซ่อุปทานที่พึ่งพาสินค้าดิจิทัล ทำให้การขนส่งสินค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความต้องการโลจิสติกส์สำหรับอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้น: เนื่องจากกฎการค้าดิจิทัลได้รับการเสริมสร้าง การทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะขับเคลื่อนความต้องการโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในด้านการจัดส่งกระจายสินค้าไปยังผู้รับปลายทาง "last mile" และบริการจัดส่งด่วน
กลไกการระงับข้อพิพาทและช่วยรักษาเสถียรภาพของโลจิสติกส์:
การรับประกันการแก้ไขข้อพิพาททางการค้า: USMCA มีกลไกการระงับข้อพิพาทที่แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานของห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์เป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ และลดความเสี่ยงจากปัญหาที่เกิดจากข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งทางการค้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและการควบคุมต้นทุนของห่วงโซ่อุปทานข้ามชาติ
ผลกระทบของ USMCA ต่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีหลายด้าน การเปลี่ยนแปลงในกฎว่าด้วยแหล่งกำเนินสินค้า และมาตรฐานด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อมได้ส่งเสริมให้เกิดการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคนี้ ทำให้ความต้องการโลจิสติกส์ข้ามพรมแดนเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน การส่งเสริมข้อกำหนดการค้าดิจิทัลทำให้โลจิสติกส์อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนสะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้นทุนโลจิสติกส์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าแรงที่สูงขึ้นและข้อกำหนดด้านการปฏิบัติตามกฏระเบียบ ดังนั้นบริษัทโลจิสติกส์ต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและควบคุมต้นทุนซึ่งเป็นกุญแจสำคัญ
ขอขอบคุณหากคุณสามารถแบ่งปันบล็อก TGL ในหมู่เพื่อนของคุณที่สนใจข้อมูลตลาดโดยตรงของโซ่อุปทานและเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่อัปเดต